Young Starters 102
โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนอายุ 15 - 18 ปี ที่มีความสนใจอยากทำโปรเจกต์เพื่อสังคม แต่มีเวลาจำกัดและขาดความรู้ในการบริหารจัดการโปรเจกต์ มาร่วมตั้งต้นทำโปรเจกต์ และเรียนรู้ทักษะการทำงานเป็นทีมผ่านกระบวนการในโครงการ ซึ่งแต่ละคนจะได้เรียนรู้การสวมบทบาทในการประชุมทีมที่แตกต่างไปในแต่ละครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์
ที่มาของโครงการ
จากการสนับสนุนเยาวชนรุ่นใหม่ทำโปรเจกต์เพื่อสังคม พบว่าหนึ่งในปัญหาของเยาวชนที่สนใจทำโปรเจกต์เพื่อสังคมคือ ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร รวมถึงเวลาที่มีน้อยเนื่องจากภาระในการเรียนและชีวิตส่วนตัว และการขาดทักษะในการจัดการทีม ส่งผลให้ไม่ได้เริ่มทำหรือต้องล้มเลิกไประหว่างทาง โครงการนี้จึงออกแบบระบบสนับสนุนออนไลน์ที่จะช่วยให้เยาวชนสามารถเรียนรู้ขั้นตอนการทำโปรเจกต์ในหัวข้อที่ตัวเองสนใจ และเรียนรู้การทำงานเป็นทีมไปได้พร้อม ๆ กันในเวลาที่มีจำกัด
โปรแกรมนี้เหมาะกับใคร
- เยาวชนอายุ 15 - 22 ปี รวมทีมกัน โดยทีมมีสมาชิก 3 - 5 คน
- ต้องการเรียนรู้การริเริ่มโปรเจกต์เพื่อสังคม
- มีเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ในการลงมือและพัฒนาโปรเจกต์
- สนใจลงมือแก้ไขปัญหาสังคม
- สามารถวางมัดจำคนละ 100 บาท ซึ่งจะได้รับคืนเมื่อเข้าร่วมจนจบโครงการ
กระบวนการ
ตลอดระยะเวลาในโครงการเยาวชนผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการ (Plan Act Check หรือ วางแผน ลงมือทำ ประเมินผล) และเรียนรู้ทักษะการทำงานเป็นทีม ทั้งการประชุม การแบ่งงาน รวมถึงการตัดสินใจและแก้ปัญหาร่วมกัน
โครงการนี้ประกอบด้วย 6 บทเรียน (session) บทเรียนละ 2 สัปดาห์ ได้แก่
- สร้างสรรค์ไอเดีย (Creative Planning)
- วางแผนงาน (Effective Planning)
- แก้ปัญหา (Problem solving)
- ปรับแผนงาน (Adjusting Plan)
- วิธีเก็บฟีดแบค (Collecting Feedback)
- เรียนรู้ (Reflect and review)
ซึ่งแต่ละบทเรียนนั้นออกแบบมาให้ใช้เวลาเรียนและลงมือทำงาน 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และทำงานให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเรียนบทเรียนถัดไปจนครบ 6 บทเรียน ในระยะเวลา 12 สัปดาห์
ขั้นตอนการเรียนรู้ในโครงการคือ ในสัปดาห์แรกของแต่ละบทเรียนจะเริ่มต้นโดยสมาชิกทีมแต่ละคนทำความเข้าใจบทเรียน จากการดูวิดีโอ หรืออ่านเนื้อหาของในบทเรียนนั้นๆ จากนั้นเตรียมตัวก่อนการประชุมทีมผ่านการทำใบงาน Team Role ประกอบไปด้วย 3 หน้าที่ (Role) คือ ผู้ประสานงานและนำประชุม (Coordinator) ผู้หาข้อมูล (Researcher) และผู้จดบันทึก (Notetaker) โดยแต่ละคนจะได้สลับเปลี่ยนหน้าที่แตกต่างกันในแต่ละสัปดาห์ หลังจากนั้นจึงประชุมกับทีม ร่วมกันพูดคุย ทำภารกิจและใบงานทีมของบทเรียนนั้นๆ พร้อมกัน เมื่อทำใบงานเสร็จจะส่งใบงานนั้นให้โค้ชช่วยดู โดยในสัปดาห์ที่สองของบทเรียนจะเป็นการรับฟีดแบ็กและพูดคุยกับโค้ชเพื่อพัฒนาแนวทางในการทำโครงการต่อไป
สิ่งที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับ
- ทักษะการจัดการโครงการและการทำงานเป็นทีมจากการทำโครงการเพื่อสังคม
- ได้ทดลองลงมือทำโครงการเพื่อสังคมในกิจกรรมที่ตนเองสนใจ
- เกียรติบัตรการเข้าร่วม (Certificate)
- แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ระยะเวลาโครงการ
วันที่ 27 มีนาคม – 24 เมษายน 2566 วันที่ 1 พฤษภาคม 2566
วันที่ 20 พฤษภาคม 2566
เวลา 13.00 - 16.00 น.
วันที่ 20 พฤษภาคม - 12 สิงหาคม 2566
วันที่ 12 สิงหาคม 2566
เวลา 13.00 - 16.00 น
เปิดรับสมัคร
ประกาศผลทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วม ผ่านทาง Facebook: School of Changemakers
ปฐมนิเทศและพบเจอโค้ชครั้งแรก (First meet)
ระยะเวลาโครงการ
ประชุมสรุปและปิดโครงการ
หมายเหตุ: กิจกรรมทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมออนไลน์