เวลาที่เราพูดถึงการการสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือการแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพ การที่ปัญหาที่ได้รับการแก้ไข คือการที่ผู้เดือดร้อนได้รับความช่วยเหลือจนชีวิตดีขึ้น
ซึ่งทำให้การสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นมากกว่าการจัดกิจกรรมเป็นครั้งคราว แต่เป็นการเข้าใจปัญหา และพยายามที่จะพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ โดยระบุเห็นช่องว่างและโอกาส (gap & opportunity) ที่ชัดเจน
การแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคมเป็นตอบโจทย์ความเดือดร้อน เป็นการเดินทางไกลที่ใช้ระยะเวลานาน นักสร้างความเปลี่ยนแปลงต้องเจอกับความซับซ้อนของสถานการณ์ ปัจจัยต่างๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม และอุปสรรคหลากหลายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เส้นทางการของนักสร้างการเปลี่ยนแปลง (Changemaker) ที่ประสบความสำเร็จ มักเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลง ‘ตนเอง’ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ‘สังคม’ ในวงกว้าง มากกว่าการคิดไอเดียที่จะไปให้คนอื่นหรือหน่วยงานต่างๆ ทำ
เริ่มต้นจากสำรวจความสนใจของตนเอง เลือกทำประเด็นที่ตนเองสนใจจริงๆ หรือเริ่มต้นจากทักษะหรือทรัพยากรที่มี ศึกษาสถานการณ์ บริบทของประเด็นปัญหาที่สนใจ ทั้งการหาข้อมูล เลือกและวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ได้ รวมถึงรู้จักการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (empathize)
จึงค่อยพัฒนาไอเดีย วางแผน ระดมทรัพยากร ลงมือทำ และเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก ประสบการณ์การริเริ่มทำด้วยตนเองเช่นนี้กับทีม จะทำให้คนรุ่นใหม่มีประสบการณ์การประกอบการ รู้จักการมองโอกาสหรือหาช่องว่าง และมีทักษะในการรวมทีม และลุกขึ้นมาคิดไอเดียลงมือทำเพื่อแก้ปัญหาได้
และเรียนรู้ที่จะทดลองทำ เรียนรู้ที่จะพลาดให้เร็ว และปรับแผนไปตามสถานการณ์ได้ ปรับจนเจอทางแก้ปัญหาที่ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จนพัฒนาโมเดลการขยายผลไปพร้อมกับโมเดลรายได้ เพื่อให้เกิดการขยายผลของไอเดียจนเกิดผลกระทบในวงกว้าง
หากการเป็นนักสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นโอกาสที่คุณมองหา
Start your changemaking journey with us!