How Might We” คืออะไร
การตั้งคำถาม “How Might We” หรือ “เราจะทำอย่างไรให้” ถึงจะดูเรียบง่าย แต่สามารถช่วยให้เราสกัด Insight (ข้อมูลเชิงลึก) จากการที่เราไปทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมาแล้วให้กลายเป็น Opportunity (โอกาส) และช่วยกระตุ้นให้เราคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหา
การตั้งคำถามนี้เป็นการชวนให้เรากลับมาโฟกัสที่ความต้องการและปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย (Target) โดยไม่รีบเร่งไปคิดวิธีแก้ไขปัญหาก่อน โดยการตั้งคำถาม HMW จะช่วยให้เราได้คิดวิธีการแก้ไขปัญหา โดียมกลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง (User Centric)
“How Might We” มาจากอะไร
ก่อนเริ่มตั้งคำถาม “How Might We” ก่อนที่เราจะเริ่มตั้งคำถาม HMW เราควรกลับมากำหนด Problem Statement (ขอบเขตของปัญหา) ก่อน เพราะการกำหนด Problem Statement จะช่วยให้เราไม่หลุดโฟกัสจากกลุ่มเป้าหมายและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เราเริ่มจากการกลับไปดู Insight ที่เราได้ศึกษามา และเขียนออกมาว่า อะไรคือ Pain (ปัญหาอุปสรรค) อะไรคือ Need (ความต้องการ) ของกลุ่มเป้าหมายของเรา เปรียบเสมือนการเล่าให้คนอื่นฟังว่า ปัญหาที่เราสนใจมีรายละเอียดอย่างไร
ตัวอย่าง Problem Statement
“เด็กนอกระบบ อายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ในตลาดแรงงาน ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน ไม่มีแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นให้เรียน และไม่มีเวลา ต้องการวุฒิการศึกษาชั้นม.3 เพื่อไปสมัครงานหรือเรียนต่อในระดับสูงขึ้น โดยพบว่า ถ้าเด็กมีเพื่อนเรียนก็จะเรียนด้วย หรือถ้าเรียนไปด้วย มีรายได้ไปด้วยได้ก็จะอยากเรียน เด็กทุกคนขาดอุปกรณ์การเรียน แต่มีโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต ถนัดใช้และเล่นโซเชียลมีเดีย รวมถึงมีอินฟลูเอนเซอร์หรือยูทูปเบอร์เป็นแรงบันดาลใจ”
แจกแจงรายละเอียด Target, Pain Point, Need, Gap & Opportunity ออกมาได้ ดังนี้
คำแนะนำ เนื่องจากปัญหาสังคมเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนทำให้มีโอกาสและช่องว่างในการแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ดังนั้น Insight ของโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมหนึ่งอาจมี Insight ได้หลายข้อ ซึ่งปัจจัยในการเลือก Insight ที่จะนำมาใช้สามารถเลือกโดยคำนึงถึง
- ความสนใจและความเชี่ยวชาญของทีมเราต่อ Insight นั้นๆ เช่น เข้าใจเบื้องลึกของสถานการณ์อย่างทะลุปรุโปร่ง มีประสบการณ์ร่วม เคยทำงานด้วย Insight นี้มาก่อน หรือทีมมีศักยภาพที่จะใช้ Insight นั้นสร้างการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ เป็นต้น
- ประสิทธิภาพของ Insight ในการสร้างผลกระทบทางสังคม เช่น Insight นั้นเป็นจุดคานงัด ถ้าทำงานโดยใช้ Insight นี้จะสร้างผลกระทบทางสังคมได้เร็วกว่าหรือมากกว่า 1 อย่าง หรือ ความสอดคล้องของช่องว่างและโอกาสกับความต้องการหรืออุปสรรคของกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
- การจำกัดของทรัพยากรในการสร้างการเปลี่ยนแปลงของทีมเรา เช่น จำนวนทีมงาน เวลา สถานที่ และเงิน เป็นต้น รวมถึงสถานการณ์รอบข้างที่อาจส่งผลทำให้เราไม่สามารถใช้ Insight หรือลงมือทำไอเดียของเราได้ เช่น สถานการณ์การเมืองในพื้นที่ สถานการณ์โควิด-19 เป็นต้น
หากไม่แน่ใจว่าความต้องการและอุปสรรคของกลุ่มเป้าหมายที่เราเขียนเป็นสิ่งที่แท้จริงหรือไม่ อาจลองกลับไปพูดคุยหรือสัมภาษณ์ เพื่อทดสอบความถูกต้องกับกลุ่มเป้าหมายอีกคร้ังแบบเร็วๆ เพื่อความชัดเจน
วิธีการตั้งคำถาม “How Might We”
1. เขียนคำถาม HMW ออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเราแจกแจงรายละเอียด Problem Statement ออกมาแล้ว เริ่มเขียนคำถาม HMW ได้เลย โดยเราสามารถเลือกใช้ Insight ได้ตามที่เราต้องการ จากการพิจารณาปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว วิธีการคือ เติมข้อมูลลงในช่องว่าง ดังนี้
“เราจะทำอย่างไรให้ (กลุ่มเป้าหมาย + ช่องว่าง/โอกาส + เป้าหมาย)”
ตัวอย่าง
- เราจะทำอย่างไรให้เด็กนอกระบบ อายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ในตลาดแรงงาน ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน ไม่มีแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นให้เรียน และไม่มีเวลา ได้เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วยจนได้วุฒิการศึกษาระดับม.3 เพื่อไปสมัครงานหรือเรียนต่อในระดับสูงขึ้น
- เราจะทำอย่างไรให้เด็กนอกระบบ อายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ในตลาดแรงงาน ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน ไม่มีแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นให้เรียน และไม่มีเวลา แต่มีโทรศัพท์มือถือ มีอินเทอร์เน็ต และถนัดเล่นและใช้โซเชียลมีเดีย ได้มีวุฒิการศึกษาระดับม.3 เพื่อไปสมัครงานหรือเรียนต่อในระดับสูงขึ้น
- เราจะทำอย่างไรให้เด็กนอกระบบ อายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ในตลาดแรงงาน ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน ไม่มีแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นให้เรียน และไม่มีเวลา มีแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นให้เรียนจากเพื่อนหรืออินฟลูเอนเซอร์/ยูทูปเบอร์ จนได้มีวุฒิการศึกษาระดับม.3 เพื่อไปสมัครงานหรือเรียนต่อในระดับสูงขึ้น
ข้อควรระวังในการตั้งคำถาม How Might We
2. เลือก HMW ที่เราจะนำไปใช้จริง เมื่อเราระดมความคิดคิดคำถาม HMW มาได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเลือกคำถาม 1 คำถามที่เราจะนำไปใช้จริงในขั้นคิดไอเดียเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่ง HMW ที่สามารถนำไปคิดไอเดียได้ดี มีคุณสมบัติ ดังนี้
ถ้าคิด How Might We ไม่ออก ต้องทำอย่างไร
การตั้งคำถาม HMW นั้นไม่ง่าย บางครั้งคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก สิ่งที่เราทำได้คือ แจกแจงรายละเอียด Insight/Gap/Opportunity ออกมาให้ได้มากที่สุด แล้วเริ่มตั้งคำถาม HMW กับทุกๆ รายละเอียดย่อยนั้นๆ บางคำถามเราอาจจะรู้สึกว่าแคบเกินไปหรือกว้างเกินไป บางครั้งอาจจะใส่ไอเดียลงไปในคำถามแล้ว หรือมีแต่คำที่ความหมายเชิงลบ ก็ไม่เป็นไร เขียนลงไปก่อน แล้วเราสามารถกลับมาดูและประเมินแต่ละคำถามอีกครั้งในภายหลังได้ ทั้งนี้ Stanford’s d.school ได้แนะนำวิธีการที่จะช่วยให้เราตั้งคำถาม HMW ได้ง่ายขึ้น ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ซึ่งคำถาม HMW ที่เขียนมาตามตัวช่วย อาจจะไม่ได้ดีที่สุดหรือทำได้จริงทุกคำถาม แต่อย่าลืมว่าเราสามารถหยิบตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่งมาคิดต่อได้ และสำคัญที่สุด คือ อย่าลืมที่จะปล่อยให้ความคิดสร้างสรรค์ของเราทำงาน สนุกไปกับมัน แล้วมาคัดเลือกในภายหลังได้เสมอ
วิธีช่วยตั้งคำถาม HMW
ตัวช่วยตั้งคำถาม HMW | ตัวอย่างคำถามจาก Problem Statement
“คนฟังพอดแคสต์ต้องการที่จะสามารถกดบันทึกเฉพาะช่วงที่ต้องการในขณะฟัง เพราะการมานั่งย้อนหาข้อมูลหรือช่วงที่น่าสนใจช่วงนั้นๆ ทีหลัง เป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลา” |
เพิ่มสิ่งที่ดี | เราจะทำอย่างไรให้พอดแคสต์น่าสนใจตั้งแต่ต้นจนจบสำหรับผู้ฟัง |
ลบสิ่งที่แย่ | เราจะอย่างไรให้ช่วงที่น่าสนใจของพอดแคสต์ถูกนำเสนอไปถึงผู้ฟัง |
ลองนึกถึงสิ่งตรงกันข้าม | เราจะทำอย่างไรให้การค้นหาช่วงที่น่าสนใจของพอดแคสต์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในการฟังพอดแคสต์ |
ตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่ | เราจะทำอย่างไรให้พอดแคสต์สามารถจับต้องได้หรือใช้เสียงสั่งได้ |
นำสิ่งอื่นๆ มาช่วย | เราจะทำอย่างไรให้แอปพลิเคชันอื่นๆ สามารถช่วยให้การกดค้นหาช่วงเวลาในพอดแคสต์นั้นง่ายขึ้น |
ลองนึกถึงสิ่งที่คล้ายกัน | เราจะทำอย่างไรให้การกดค้นหาช่วงเวลาของพอดแคสต์มีลักษณะคล้ายการเล่นเกม |
ใช้ความท้าทายเข้ามาช่วย | เราจะทำอย่างไรให้การค้นหาข้อมูลหรือช่วงที่น่าสนใจของพอดแคสต์เป็นสิ่งที่คนอยากทำ |
เปลี่ยนสิ่งเดิมๆ ไปเลย | เราจะทำอย่างไรให้ประสบการณ์การฟังและค้นหาข้อมูลที่น่าสนใจในพอดแคสท์ดียิ่งขึ้น |
การตั้งคำถามที่ถูกต้องก็เหมือนการกลัดกระดุมให้ถูก ไม่ต้องมารื้อถอดแล้วกลัดใหม่อีกครั้ง และการใช้โจทย์ที่ชัดเป็นตัวตั้งในการคิดไอเดีย ช่วยให้เราได้ไอเดียแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น เข้ากับสถานการณ์ปัญหาและนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นก่อนเริ่มคิดไอเดีย เราควรกลับมาตั้งโจทย์ให้ชัด เพื่อให้การระดมไอเดียไม่ฟุ้งและหลุดประเด็น หรือหลงทางจนได้ไอเดียที่ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาได้จริง!
อ้างอิง
บทความนี้ได้รับการแปลและดัดแปลงมาจาก How Might We Statements: A Powerful Way to Turn Insights into Opportunities