Theory of Change ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง

image

หลักจากที่เราทำความเข้าใจปัญหามองเห็นสถานการณ์ปัญหาอย่างชัดเจน และอาจจะมี Problem Insights มาบ้างแล้ว จากนั้นมีการระดมไอเดียเพื่อหาวิธีที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาโดยเน้นการใช้ทักษะ ความสนใจของสมาชิกในทีม ในบทความนี้จะพาทุกคนไปสู่การตั้งสมมติฐาน หรือที่เรียกว่า “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง” (Theory of Change) ที่จะใช้เป็นหลักในการทดสอบว่า แนวคิดหรือวิธีการที่เราคิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ อย่างไร ช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมของโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมในภาพเดียว

Theory of Change แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. ภาพปัจจุบัน (What, When, Where, Why, Who ) ประกอบไปด้วย

  • สถานการณ์ปัญหาและโอกาสหรือช่องว่างที่เราเลือกเพื่อนำมาแก้ไขปัญหา (Problem Situation, Insight)
  • กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ที่เราทำงานด้วย (Target, Area)

2. ภาพอนาคตที่ต้องการ

  • แสดงความสำเร็จที่อยากเห็น (Vision)
  • เป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จ (Goals)

3. กิจกรรม (How) ที่เราต้องทำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงระหว่างภาพปัจจุบันไปสู่ภาพอนาคตที่ต้องการเห็น

ข้อดีของการทำ Theory of Change (TOC)

  • ช่วยนำทาง เป็นเหมือนเข็มทิศทำให้โครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของเรามีความชัดเจนในสิ่งที่จะทำมากขึ้น และลงรายละเอียดสิ่งที่ต้องทำในขั้นต่อไปได้
  • ช่วยในการสื่อสาร เวลาที่เราต้องสื่อสารกับคนอื่นๆ ทั้งทีมงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลูกค้า ผู้ให้ทุน และเครือข่ายพันธมิตรของเราอีกด้วย เราสามารถเล่าโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของเราให้จบได้ในไม่กี่ประโยค ด้วยกระดาษเพียง 1 แผ่นเท่านั้น
  • ช่วยไม่ให้หลงทาง หลายโครงการหรือกิจการเมื่อทำไปแล้ว ลืมตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ อาจจะมัวไปมุ่งเน้นที่ “กิจกรรมที่ทำ” การมี Theory of Change ที่อัพเดทอยู่เสมอ ช่วยให้กลับมาดูได้ว่า สิ่งที่ทำ ยังช่วยให้เรามุ่งไปสู่ Vision & Goal ที่ต้องการหรือไม่
  • ช่วยในการวัดผล ใช้เป็นกรอบในการประเมินผลกระทบทางสังคมของโครงการหรือกิจการต่อไป (เป็นตัวตั้งต้นในการใช้ทำ Impact Value Chain)

การเตรียมตัว

  • ดาวน์โหลดฟอร์ม Theory of Change จาก TOC Worksheet หรือใช้กระดาษ A4, A3 วาดช่องสี่เหลี่ยมและโยงลูกศรตามตัวอย่างจากรูปภาพ TOC Worksheet
  • อุปกรณ์เครื่องเขียน ปากกา ดินสอ สีไม้หรือปากกาเมจิกสี

Let’s do it ( 30-60 นาที )

Step 1 Situation

1. “Target” กลุ่มเป้าหมายระบุกลุ่มเป้าหมายที่โครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของเราต้องลงไปทำงานด้วย กลุ่มเป้าหมายควรระบุให้ชัดเจน เมื่ออ่านแล้วเข้าใจว่าเป็นใคร ลักษณะแบบใด มีจำนวนเท่าไหร่

ตัวอย่าง

  • โครงการ Sex Education มีกลุ่มเป้าหมายคือ “นักเรียนชั้นมัธยมต้น-ปลาย อายุระหว่าง 11-19 ปี จำนวน 1,800 คน”
  • โครงการแยกขยะต้นทางจากบ้านสู่ทะเล มีกลุ่มเป้าหมายคือ “ลูกบ้านในหมู่บ้านทั้งหมด 150 หลังคาเรือน”
  • โครงการพลังชุมชนบ้านบ่อสู่พลังการเปลี่ยนแปลง มีกลุ่มเป้าหมายคือ “สมาชิกในชุมชนบ้านบ่อจำนวน 200 คน”

2. “Insight” โอกาส (Opportunity)/ ช่องว่าง (Gap)ระบุโอกาส (Opportunity) ที่โครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของเราเลือกเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือช่องว่าง (Gap) ของปัญหาที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่รอให้คนเข้ามาจัดการเพื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น

  • Insight เกิดจากการทำความเข้าใจปัญหา กลุ่มเป้าหมาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จนเป็นกลุ่มข้อมูลเพื่อนำไปทำงานผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ หาโอกาส (Opportunity) หรือช่องว่าง (Gap) จนเกิดเป็นชุดข้อมูลความรู้ใหม่ในการใช้แก้ไขปัญหานั้น

ตัวอย่าง Insight จากโครงการ Sex Education 

  • จากการเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ครูและนักเรียนชั้นมัธยมจำนวน 50 คน ในจังหวัดชลบุรี พบว่า “ครูประจำวิชาสุขศึกษา ครูประจำชั้น รวมทั้งผู้ปกครองยังไม่มีวิธีการสื่อสาร การใช้ตัวอย่าง และการใช้เนื้อหาเรื่องเพศที่เหมาะสมให้วัยรุ่นแต่ละกลุ่ม (อายุตั้งแต่ 10 -19 ปี)” เพราะเพศเป็นเรื่องส่วนตัว ละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อน ดังนั้นความรู้ทั่วไปเรื่องเพศศึกษาควรครอบคลุมตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตใจเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เพศวิถี ความหมายของการมีเพศสัมพันธ์ การเคารพสิทธิ์ของตัวเองและผู้อื่น จนถึงความรู้เกี่ยวกับการเป็นพ่อแม่
  • จากการเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์แม่วัยรุ่นและครอบครัวจำนวน 5 ครอบครัว ในจังหวัดชลบุรี พบว่า “บทบาทของชายวัยรุ่นถูกละเลยไปจากเรื่องเพศในวัยรุ่น ซึ่งปัจจุบันมีพ่อวัยรุ่น 2 ใน 10 เท่านั้นที่เลี้ยงลูก” เมื่อพูดถึงการสอนเรื่องเพศส่วนใหญ่มีเนื้อหาเน้นการไปที่การป้องกันหรือการจัดการจากฝั่งผู้หญิง มากกว่าการสร้างการมีส่วนร่วมและการปลูกฝังความรับผิดชอบในวัยรุ่นชาย ทำให้เมื่อแฟนสาวเกิดตั้งครรภ์ วัยรุ่นชายที่ขาดทุนทรัพย์และความรู้ จึงไม่รู้สึก ‘พร้อม’ ที่จะดูแลและรับผิดชอบร่วมกับฝ่ายหญิง อีกทั้ง ยังมีอีกกรณีที่พ่อวัยรุ่นถูกมองว่าเป็นเด็กเลว เอาเปรียบฝ่ายหญิง จึงถูกกีดกันไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ในปัจจุบัน พ่อวัยรุ่น 8 ใน 10 หายไปหลังทราบข่าว และมีแม่วัยรุ่นที่ต้องเผชิญปัญหาโดยลำพังเป็นจำนวนมาก

คำแนะนำ เนื่องจากปัญหาสังคมเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน (Complex) ทำให้มีโอกาสและช่องว่างในการแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ดังนั้น insight ของโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมหนึ่งอาจมี insight ได้หลายข้อ ซึ่งปัจจัยในการเลือก Insight ที่จะนำมาใช้ อาจมาจาก

  • ความสนใจและความเชี่ยวชาญของทีมต่อ Insight นั้นๆ
  • ความมีประสิทธิภาพของ Insight ในการสร้างผลกระทบทางสังคม
  • การจำกัดของทรัพยากร เช่น จำนวนทีมงาน เวลา สถานที่ และเงิน

3. “Area” พื้นที่ทำงานระบุพื้นที่การทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ระบุในข้อ 1 การระบุพื้นที่เป็นตัวช่วยหนึ่งสำหรับการทำงานที่มีเวลาและทรัพยากรจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเราต้องเลือกพื้นที่ที่เราจะลงทำงาน พื้นที่ใดที่เหมาะจะเป็นพื้นที่ต้นแบบของโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของเราในช่วงแรก และใช้เป็นต้นแบบในการขยายโมเดลในอนาคต

ตัวอย่าง

  • โครงการ Sex Education พื้นที่ทำงาน คือ “โรงเรียนมัธยมเด็กดี จังหวัดชลบุรี”
  • โครงการแยกขยะต้นทางจากบ้านสู่ทะเล พื้นที่ทำงาน คือ “หมู่บ้านดีพร้อม เขตลาดพร้าว กทม.”
  • โครงการพลังชุมชนบ้านบ่อสู่พลังการเปลี่ยนแปลง พื้นที่ทำงาน คือ “ชุมชนบ้านบ่อ จังหวัดเชียงใหม่”

4. “Problem Situation” สถานการณ์ปัญหาอธิบายสถานการณ์ของปัญหาพอสังเขป เป็นการเล่าเพื่อให้เข้าใจว่าปัญหาคืออะไร ขนาด ความรุนแรงของปัญหา สาเหตุคืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร

ตัวอย่างสถานการณ์ปัญหาจากโครงการ Sex Education 

  • ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (อายุ 10-19 ปี) เกิดจากการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ล้มเหลว เนื่องจากวัยรุ่นไม่มีความรู้เรื่องเพศ ไม่ได้ใช้การคุมกำเนิด หรือไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ นอกจากนี้วัยรุ่นยังขาดสิทธิ์ในร่างกายตัวเอง ความท้าทายในการยุติครรภ์ จึงจำต้องตั้งครรภ์ต่อไปโดยไม่มีความพร้อมในการดูแลครรภ์และบุตรให้เติบโตอย่างมีคุณภาพเพราะขาดความรู้ ทักษะ วุฒิภาวะ ฐานะทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง ‘ความอยากเป็นแม่’ จึงทิ้งบุตรและเกิดการท้องซ้ำในท้ายที่สุด
  • โดยจากสถิติล่าสุด ในปี 2560 ประเทศไทยมีหญิงคลอดบุตร ที่มีอายุระกว่าง 10-19 ปี จำนวน 84,578 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12.8 ของการคลอดในหญิงไทยทั้งหมด
  • หากปัญหาดังกล่าวยังไม่ถูกแก้ไขโดยเร็ว จะส่งผลให้ประชากรไทย ‘เกิดน้อยด้อยคุณภาพ’ เนื่องจากอัตราการแต่งงานและคลอดบุตรของหญิงวัยทำงานลดต่ำลงในทุกปี สวนทางกับสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ในอีก 20 ปีข้างหน้า วัยแรงงาน 1 คน จะต้องดูแลเด็ก 3 คนและผู้สูงวัย 6 คนโดย

Step 2 Vision and Goals

1. “Vision” ภาพความสำเร็จที่อยากเห็นระบุเป้าหมายระยะยาว Vistion เปรียบเสมือนผลลัพธ์ทางสังคมที่โครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของเราที่ตั้งใจให้เป็นเป้าหมายหลักเป้าหมายเดียวที่อยากสร้างให้เกิดขึ้น เป็นภาพที่เราอยากเห็นเมื่อปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว

ตัวอย่าง

  • โครงการ Sex Education มี Vision คือ “เยาวชนมีความรู้พื้นฐานเรื่องการมีเพศสัมพันธ์”
  • โครงการแยกขยะต้นทางจากบ้านสู่ทะเล มี Vision คือ “ชุมชนมีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ”
  • โครงการพลังชุมชนบ้านบ่อสู่พลังการเปลี่ยนแปลง มี Vision คือ “เกิดความความสามัคคีระหว่างคนในชุมชนบ้านบ่อ”

2. “Goals” เป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จระบุเป้าหมายระยะสั้นที่ต้องทำให้สำเร็จ เป็นส่วนประกอบเพื่อส่งผลให้เป้าหมายระยะยาว (Vision) เกิดขึ้น เป้าหมายสามารถมีได้หลายข้อ โดยเขียนเป็นเป้าหมายแบบ S.M.A.R.T. goal เพื่อที่จะได้เห็นภาพชัดมากขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. Specific เฉพาะเจาะจง
  2. Measurable วัดผลได้
  3. Attainable ไม่เกินกำลังที่จะทำได้จริง
  4. Relevant มีความเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโดยตรง
  5. Timely ระบุระยะเวลาชัดเจน

ตัวอย่าง

  • โครงการ Sex Education มี Goals คือ1. ในระยะเวลา 6 เดือน คะแนนจากแบบทดสอบความรู้เรื่องเพศศึกษาของเด็กมัธยมตอนต้น-ปลายเพิ่มขึ้น2. ในระยะเวลา 6 เดือน สถิติการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรีมีจำนวนลดลงจากเดิม
  • โครงการแยกขยะต้นทางจากบ้านสู่ทะเล มี Goals คือ1. ในระยะเวลา 6 เดือน บ้านในหมู่บ้านจำนวน 50 หลัง มีการแยะขยะอย่างถูกต้องก่อนส่งให้รถเก็บขยะ2. ในระยะเวลา 6 เดือน เจ้าหน้าที่เก็บขยะในหมู่บ้านใช้เวลาในการแยกขยะลดลงจากเดิม เมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ในปัจจุบัน
  • โครงการพลังชุมชนบ้านบ่อสู่พลังการเปลี่ยนแปลง มี Goals คือ1. ในระยะเวลา 4 เดือน มีสมาชิกชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ด้วยความสมัครใจจำนวนเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกหมู่บ้าน2. ในระยะเวลา 6 เดือน มีผู้เข้าร่วมมีสมาชิกชุมชนเข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ของสมาชิกชุมชนจำนวนเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกหมู่บ้าน

Step 3 Activities 

ระบุกิจกรรมที่ต้องทำเพื่อสร้างให้เกิดเป้าหมายระยะสั้นที่เราต้องการ (Goals) กิจกรรมข้อนี้เสมือนเป็นส่วนประกอบของการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นระหว่างภาพสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันกับภาพความสำเร็จที่เราอยากเห็น ดังนั้นการตั้งกิจกรรมควรสอดคล้องกันกับเป้าหมาย เมื่อเขียนแล้วลองอ่านทวนซ้ำและเช็คว่ากิจกรรมนี้ส่งผลต่อเป้าหมายจริงหรือไม่

ตัวอย่าง

  • โครงการ Sex Education มีกิจกรรม คือ1. เปิดเพจรับปรึกษาปัญหาเรื่องเพศ และทำเครือข่ายเพจที่เยาวชนมักจะเข้าไปส่งคำถามเรื่องเพศสัมพันธ์2. เผยแพร่ความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในรูปแบบของการ์ตูนออนไลน์ สามารถเข้าอ่านได้ฟรี3. ติดต่อกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคุณครูประจำวิชาสุขศึกษาเพื่อเผยแพร่ช่องทางข้อมูลความรู้ที่ได้จัดทำไปให้ถึงเด็กกลุ่มเป้าหมาย4. จัดทำแบบทดสอบความรู้พื้นฐานเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
  • โครงการแยกขยะต้นทางจากบ้านสู่ทะเล มีกิจกรรม คือ1. จัดสถานที่ตั้งถังขยะแบบแยกประเภทพร้อมคู่มือวิธีการใช้งานอย่างง่าย2. ทำเวิร์กชอปสอนเรื่องการแยกขยะให้กับตัวแทนลูกบ้านในหมู่บ้าน
  • โครงการพลังชุมชนบ้านบ่อสู่พลังการเปลี่ยนแปลง มีกิจกรรม คือ1. จัดการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ให้สมาชิกในชุมชน2. จัดการประชุมวางแผนและออกแบบกิจกรรมที่ชุมชนอยากทำและเห็นประโยชน์ร่วมกัน3. จัดกิจกรรมลงคะแนนเลือกกิจกรรม โดยสมาชิกในชุมชนต้องได้โหวตร่วมกัน4. จัดกิจกรรมชวนสมาชิกในชุมชนทำกิจกรรมที่ลงความเห็นร่วมกัน

จากนั้น เราสามารถเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบประโยคสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย ดังนี้

ถ้า………………………….แล้ว……………………….

เช่น ถ้า นักเรียนชั้นมัธยมต้น-ปลาย อายุระหว่าง 11-19 ปี จำนวน 1,800 คน ในจังหวัดชลบุรี ได้รับคำปรึกษา ความรู้เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ผ่านเพจรับปรึกษาปัญหาเรื่องเพศที่เข้าถึงวัยรุ่น แล้ว เด็กเหล่านี้จะมีความรู้เรื่องเพศศึกษาเพิ่มขึ้น และ สถิติการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรีมีจำนวนลดลงจากเดิมในระยะเวลา 6 เดือนถ้า ลูกบ้านในหมู่บ้านทั้งหมด 150 หลังคาเรือน ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านดีพร้อม เขตลาดพร้าว กทม ผ่านเวิร์กชอปสอนเรื่องการแยกขยะให้กับตัวแทนลูกบ้านในหมู่บ้านและมีสถานที่ทิ้งขยะแยกประเภทพร้อมคู่มือวิธีการใช้งานอย่างง่าย  แล้ว  มีการแยะขยะอย่างถูกต้องก่อนส่งให้รถเก็บขยะ และเจ้าหน้าที่เก็บขยะในหมู่บ้านใช้เวลาในการแยกขยะลดลงจากเดิม เมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ในปัจจุบัน

หวังว่าเมื่อทำ Theory of Change ไปแล้ว ทีมจะได้เครื่องมือในการช่วยนำทาง ช่วยในการสื่อสาร ป้องกันไม่ให้หลงทาง และช่วยในการวัดผล ทั้งหมดในกระดาษเพียง 1 แผ่น!

เรียนรู้เครื่องมืออื่น ๆ ได้ที่…

Young Starters Toolkit
Coach for Change Toolkit
Insight to Prototype Toolkit
Starting Your SE Toolkit
Insight Tanks Toolkit
Theory of Change ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
Assumption Mapping เลือกสมมติฐาน หาจุดตั้งต้นการทดสอบ
Dream it Do it!!! เมื่อเราเห็นปัญหาสังคมแล้วอยากลุกขึ้นมาเริ่มลงมือทำ
Impact Value Chain (IVC) เครื่องมือช่วยมองภาพรวมการแก้ปัญหา
How Might We คืออะไรและเขียนอย่างไร